ระบบการค้าแบบนายทุนข้ามชาติเป็นสิ่งที่สร้างความเหลื่อมล้ำอย่างมากในระบบทุนนิยม บริษัทเหล่านี้มักจะเป็นผู้ที่มีอำนาจากผูกขาดเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งพวกจะคอยกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหม่เติบโตในตลาด ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ช้าลง เนื่องจากไม่มีการแข่งขันที่เพียงพอ ด้วยความก้าวหน้าในปัจจุบัน ทำให้เราต้องเปลี่ยนวิธีในการดำเนินธุรกิจ บวกกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทุกคนต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจใหม่
การจะแก้ปัญหาการผูกตลาดได้ รัฐบาลจะต้องมีแผนสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้พวกเขาได้มีเวลาปรับและฟื้นตัวกลับเข้าสู่ตลาดได้ ซึ่งจะช่วยให้ตลาดกลับมามีการแข่งขันได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังต้องมีหน่วยงานที่คอยดูแลว่าประชาชนหรือผู้ประกอบการทั้งหลายสามารถเข้าถึง digital platform ที่เป็นเครื่องมือหลักในการเชื่อมโยงลูกค้ากับผู้ประกอบการ รวมถึงการเข้ามาของ Blockchain ที่จะทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถทำการแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ได้แบบสมน้ำสมเนื้อ ด้วยลดต้นทุนในการใช้จ่าย มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างองค์กร ช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียผลกำไรมหาศาล สามารถช่วยให้ปรับตัวตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว สำคัญสุดคือการที่มีความปลอดภัย และสามารถตรวจสอบความโปร่งใสได้
ระบบทุนนิยมในตอนนี้มักจะมีปัญหาอยู่บ่อยครั้ง ในกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐอเมริกาในเรื่องของวิกฤตด้านสินเชื่อ หรือที่คนไทยเรียกเหตุการณ์นี้ว่า ‘วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์’ ที่เริ่มต้นในช่วง พ.ศ. 2550 ทำให้กลายเป็นปัญหาหนี้สินมีความซับซ้อนวุ่นวายมากกว่าเดิม ปัญหานี้ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ความคล่องตัวของเศรษฐกิจโลกลดลงอย่างหนัก สาเหตุเพราะตลาดอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศซบเซาลง ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เช่น ผู้ปล่อยกู้ไม่ยอมเช็คความสามารถในการชำระเงิน เจ้าของบ้านไม่มีกำลังจะจ่ายเงินที่กู้ยืมมา เกิดการลงทุนมากเกินไปในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เกินความต้องการ เป็นเรื่องปกติที่เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงกับมหาอำนาจใดประเทศหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบตามมาเป็นทอดๆ
ภัยจากต่างแดนที่หลายคนยังไม่รู้ตัว
ในสมัยนี้ที่บริษัททุนใหญ่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้เป็นผู้กำหนดทิศทางในตลาดไประยะหนึ่ง จนกว่าจะมีผู้คนสามารถลอกเลียนแบบได้ แทนที่จะไปพึงพาเทคโนโลยีจากพวกทุนยักษ์เหล่านี้ รัฐบาลควรมีนโยบายที่ช่วยให้บรรดาผู้ประกอบการ SME สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่เป็นของตนเอง แต่ที่น่ากลัวคือบริษัททุนใหญ่เหล่านี้มักจะกว้านซื้อบริษัทเล็กๆ ที่เป็นเจ้าของนวัตกรรมเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อยมาก ดังนั้นจึงควรมีอะไรที่ออกมาป้องกันไม่ให้บริษัทเหล่านี้ผูกขาด โดยต้องมีการบังคับใช้กฎหมายกับทุกคน โดยไม่มีการละเว้นแต่อย่างใดจึงจะป้องกันได้
ยกตัวอย่างประเทศจีนที่เป็นใช้ระบบสังคมนิยม โดยมีการสนับสนุนจากรัฐบาลที่ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวไปทั่วโลก อย่างที่เราเห็นว่าสินค้าแทบทุกอย่างที่สำคัญจีนแทบจะผลิตเองได้หมดแล้ว ในขณะที่จีนเริ่มรุกเข้าไปตีตลาดในต่างแดนมาขึ้น ก็สร้างความตึงเครียดระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น จนนำมาสู่เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ ซึ่งถ้าเราดูสังเกตดูดีๆ เราจะเห็นว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังล้วนเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันที่อาจถูกกลุ่มนายทุนต่างชาติเข้ามามีอิทธิพล หากไม่มีแผนการควบคุมเศรษฐกิจให้มีภูมิคุ้มกันด้วยการสร้างความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี นี่เป็นภัยจากต่างแดนที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ตัว และวันนี้มันใกล้เข้ามาประชิดตัวเรามากขึ้นทุกวัน